โปรโมชั่น มา 3 ท่าน ลดเหลือ 3500

ดูบทความยืนยันจัดอบรม หลักสูตร การบำรุงรักษาเครื่องจักรเชิงป้องกันและเชิงพยากรณ์ (Preventive & Predictive Maintenance) (อบรม 12 มี.ค. 68)

ยืนยันจัดอบรม หลักสูตร การบำรุงรักษาเครื่องจักรเชิงป้องกันและเชิงพยากรณ์ (Preventive & Predictive Maintenance) (อบรม 12 มี.ค. 68)

การบำรุงรักษาเครื่องจักรเชิงป้องกันและเชิงพยากรณ์

(Preventive & Predictive Maintenance)

 

วิทยากร :  อาจารย์ อนันต์ ดีโรจนวงศ์
ที่ปรึกษาสมาพันธ์สมาคมอุตสาหกรรมสนับสนุน (A.S.I.A.)

ที่ปรึกษาเครือข่าย Lean Production สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น
ที่ปรึกษาอุตสาหกรรมการผลิตและโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
 ที่ปรึกษาสถานประกอบการดีเด่นโครงการ OPOAI กระทรวงอุตสาหกรรม MBA Logistics Management

 

 

12 มีนาคม 2568

09.00 – 16.00 น.

** โรงแรมโกลด์ ออร์คิด กรุงเทพฯ (ถนนวิภาวดีฯ-สุทธิสาร)
*สถานที่จัดสัมมนาอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
และอบรมผ่านระบบออนไลน์

 

 

หลักการและเหตุผล 

       การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) ถือเป็นการทำงานเบื้องต้นของการทำการบำรุงรักษาเครื่องจักร ซึ่งแต่ละโรงงานจะมีรูปแบบการทำงานและสภาวะแวดล้อมในการใช้เครื่องจักรที่แตกต่างกัน ทำให้การชำรุดเสียหายและประสิทธิภาพของเครื่องจักรอาจแตกต่างไปจากที่กำหนดตามมาตรฐานของเครื่องจักร ดังนั้นฝ่ายบำรุงรักษาของแต่ละโรงงานควรต้องมีระบบหรือแผนการป้องกันเครื่องจักรเหล่านั้นเพื่อลดการหยุดการทำงานโดยไม่ได้คาดหมายไว้ (Unplanned downtime) ด้วยกำหนดระยะเวลาการบำรุงรักษาเครื่องจักรตามระยะเวลาที่กำหนดขึ้นจากข้อมูลที่บันทึกได้ (Based on data insights) ซึ่งการบำรุงรักษาเชิงป้องกันสามารถกำหนดได้หลายรูปแบบและต้องมีการปรับปรุง ระบบอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้เวลาการปฏิบัติงานของเครื่องจักรไม่ลดลง จนส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตหรือไม่สามารถผลิตและส่งมอบสินค้าได้ทันเวลาตามที่ลูกค้ากำหนด ตลอดจนต้องมีการพัฒนาแผนงานเพื่อสามารถทำการพยากรณ์เพื่อลดความน่าจะเป็นที่จะเกิดปัญหาหรือความล้มเหลวของเครื่องจักรได้อีกด้วย

        การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ (Predictive maintenance) คือกิจกรรมพื้นฐานของข้อมูลการปฏิบัติงานของเครื่องจักรที่จดบันทึก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันปัญหาในการบำรุงรักษาโดยการพยากรณ์ความน่าจะเป็นในการเกิดความล้มเหลวหรือความเสียหายของเครื่องจักรที่จะเกิดขึ้นได้อย่างแม่นยำ และยังสามารถคาดการณ์ระยะเวลาที่เหลือของการใช้เครื่องจักรได้ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลที่บันทึกได้ เพื่อสามารถบริหารจัดการทรัพยากรของการบำรุงรักษาได้อย่างเหมาะสมที่สุด

        การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์เป็นกลยุทธ์ของการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยการวิเคราะห์รูปแบบของความเสียหายของเครื่องจักรเพื่อวางแผนป้องกันหรือหลีกเลี่ยงการหยุดของเครื่องจักรก่อนเหตุการณ์นั้นที่จะเกิดขึ้น เพื่อลดต้นทุนการบำรุงรักษาแลลดระยะเวลาการซ่อมบำรุงเครื่องจักร รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากรการผลิตทั้งหมดได้อย่างต่อเนื่อง  

วัตถุประสงค์

1. ลดความสูญเสียของเวลาการหยุดเครื่องจักรในการบำรุงรักษาเครื่องจักรทั้งตามแผนหรือนอกแผนซ่อมบำรุงตามระยะเวลาที่กำหนด

2. ยืดอายุการทำงานของเครื่องจักรให้ยาวนานขึ้นได้

3. สร้างรูปแบบ (Model) ของเงื่อนไขการเกิดข้อบกพร่องของเครื่องจักรได้อย่างแม่นยำ

4. เพื่อเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนการผลิต ลดของเสีย ลดต้นทุนการบำรุงรักษาเครื่องจักร ลดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต ลดระยะเวลาการผลิต เพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานผลิต และเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้มากขึ้น

5. เพื่อลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิต โดยสามารถผลิตและส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าได้อย่างมีคุณภาพและทันตามที่ลูกค้าต้องการอย่างต่อเนื่อง

6. สร้างคุณค่า (Values) ในกระบวนผลิตและการบำรุงรักษาเครื่องจักร รวมถึงการบริการจัดการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การวางแผนการผลิต การตรวจสอบ การควบคุมและติดตามได้มากขึ้น

7. เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้บริหารในทุกระดับในการวางแผนติดตามโครงการต่าง ๆ ได้อย่างละเอียด ครบถ้วน สมบูรณ์ และสามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องไม่มีวันสิ้นสุด

 

หัวข้อและกำหนดการอบรม

1. โครงสร้างพื้นฐานของระบบการบำรุงรักษาเครื่องจักร

2. ชนิดของการบำรุงรักษาเครื่องจักร (Type of Maintenance)

3. ขั้นตอนพื้นฐานของการบำรุงรักษาเครื่องจักร

4. การบำรุงรักษาเครื่องจักรเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) คืออะไร จุดประสงค์และประโยชน์ที่ได้รับ

5. รูปแบบ (Type) และขั้นตอน (Process) ของการทำ Preventive Maintenance

6. การวิเคราะห์ เครื่องมือ และตารางกำหนดการในการทำ PM (Preventive Maintenance Schedule)

7. ข้อด้อย (Disadvantage) ของการทำ Preventive Maintenance

8. ดัชนีชี้วัดของการทำ Preventive Maintenance

9. การปรับปรุง พัฒนาการทำ Preventive Maintenance

10. ความหมายของการทำ Predictive Maintenance จุดประสงค์และประโยชน์ที่ได้รับ

11. วิวัฒนาการของการบำรุงรักษาเครื่องจักรสู่การทำ Predictive Maintenance

12. ความแตกต่างระหว่างการบำรุงรักษาเครื่องจักรแบบ Preventive Maintenance กับการทำ Predictive Maintenance

13. เสาหลักทั้ง 6 (Six Pillars) ของการทำ Predictive Maintenance

14. ขั้นตอนการทำ Predictive Maintenance

15. เครื่องมือ เทคโนโลยี การวิเคราะห์และเทคนิคในการทำ Predictive Maintenance

16. การวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบ (Failure Mode and Effective Analysis)

รูปแบบการฝึกอบรม การบรรยาย, อภิปรายเชิงปฏิบัติการ, ให้คำปรึกษา, กรณีศึกษา

 

 ประกาศนียบัตร: บริษัท ไฮโพ เทรนนิ่ง แอนด์ คอนเซ้าท์แทนซี่ จำกัด 

 

ราคาค่าอบรมปกติ

จำนวน

ค่าสัมมนา

VAT 7%

หัก ณ ที่จ่าย 3%

รวมจ่ายสุทธิ

กรณีไม่มีหนังสือ
หัก ณ ที่จ่าย

สมัคร 1 ท่าน

3,700.00

259.00

111.00

3,848.00

3,959.00

สมัคร 2 ท่าน

เฉลี่ย ท่านละ 3,500.- บาท

  7,000.00

490.00

210.00

7,280.00

7,490.00

สมัคร 3 ท่าน

เฉลี่ย ท่านละ 2,966.66 บาท

  8,900.00

623.00

267.00

  9,256.00

9,523.00

สมัคร 4 จ่าย 3

เฉลี่ย ท่านละ 2,775.- บาท

 11,100.00 777.00  333.00  11,544.00  11,877.00 

วิธีการชำระเงิน:

  1.โอนผ่านบัญชีธนาคาร ดังนี้
       1.1    ธนาคารกรุงเทพ บัญชีสะสมทรัพย์ สาขา ซอยอารี   เลขที่ 127-4-66322-6
       1.2    ธนาคารไทยพาณิชย์ บัญชีออมทรัพย์ สาขา พหลโยธิน เลขที่ 014-2-63503-8

                       ชื่อบัญชี  บริษัท ไฮโพ เทรนนิ่ง แอนด์ คอนเซ้าท์แทนซี่ จำกัด 

  2.ชำระด้วยเช็คบริษัท สั่งจ่าย บริษัท ไฮโพ เทรนนิ่ง แอนด์ คอนเซ้าท์แทนซี่ จำกัด

  3.หัก ณ ที่จ่าย 3% ทะเบียนนิติบุคคลเลขที่ 0-1055-48105-59-0
     บริษัท ไฮโพ เทรนนิ่ง แอนด์ คอนเซ้าท์แทนซี่ จำกัด 
     40/81 ซอยอินทามระ 8 ถนนสุทธิสารวินิจฉัย แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

  4.บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิในการไม่คืนเงินที่ได้ชำระมาแล้ว

รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ

     

 

 

 

 

15 พฤศจิกายน 2567

ผู้ชม 260 ครั้ง

Engine by shopup.com