ดูหน้า
ดูหน้า
หลักสูตร การพัฒนากระบวนการผลิตด้วย Lean Kaizen
การพัฒนากระบวนการผลิตด้วย Lean Kaizen
วิทยากร อนันต์ ดีโรจนวงศ์ ตำแหน่ง
ที่ปรึกษาอุตสาหกรรมด้าน Lean Production & Logistics กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ที่ปรึกษาเครือข่าย สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น
ที่ปรึกษาอุตสาหกรรมและ Logistics & Supply Chain Management สมาพันธ์สมาคมอุตสาหกรรมสนับสนุน
Lean คือ แนวคิดในการบริหารจัดการการทั้งด้านการผลิตและการบริการภายในและภายนอกองค์กรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยการขจัดความสิ้นเปลืองและสูญเปล่า (Wastes) ของทุกกิจกรรม และกระบวนการดำเนินงานที่ไม่ได้ก่อให้เกิด มูลค่า โดยการทำให้ต้นทุนต่ำลง และเพิ่มทุก ๆ กิจกรรมที่สร้างคุณค่า (Values) ให้กับผลิตภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพด้วยต้นทุนที่ต่ำอย่างเหมาะสม ระบบ Lean คือ การปรับการบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผ่านการลดกระบวนการทำงานที่ไม่สร้างมูลค่า พร้อมความสามารถในการปรับตัวเพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
Lean เปรียบเสมอเครื่องมือเพื่อสร้างความเป็นเลิศของกระบวนการต่าง ๆ ในการบริหารจัดการโดยมีเป้าหมายในเรื่องของการปรับปรุง พัฒนา กระบวนการ เพื่อลดระยะเวลาของการดำเนินงาน และทำอย่างไรให้กระบวนการทั้งหมดในการดำเนินงานปราศจากความสูญเสีย (Wastes or Losses) ที่ก่อให้เกิดต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากกระบวนการนั้น ๆ รวมถึงเพื่อให้เกิดการปรับตัวเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดได้ทันเวลาพอดี
Kaizen เป็นกิจกรรมเพื่อสร้างให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานสำหรับองค์กรที่ต้องการเติบโตอย่างยั่งยืน เป็นกิจกรรมการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยกลุ่มของพนักงานที่ทำงานในองค์กรเดียวกันด้วยการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและหาได้ง่าย ประหยัด แต่ได้ผลคุ้มค่าในด้านของการมิติของ เวลา ลดต้นทุน เพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน ลดความผิดพลาด และลดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้น ด้วยการนำเอาหลักการที่เป็นประโยชน์ต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ ในการทำ Kaizen ในทั่วทั้งองค์กรก็เพื่อให้เกิดการปฏิบัติงานอย่างดีเลิศได้อย่างต่อเนื่อง
ดังนั้นการพัฒนากระบวนการผลิตด้วย Lean Kaizen จึงเป็นการประยุกต์ใช้ทั้งหลักการ Lean และ Kaizen เข้าด้วยกันเพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในกระบวนการผลิต พัฒนากระบวนการทำงานให้กระชับมากขึ้น, มีข้อมูลที่ถูกต้องและลดความผิดพลาดในแต่ละขั้นตอนทำงาน ซึ่งส่งผลถึงความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้มากขึ้น รวมถึงผลประกอบการดีขึ้นและสร้างศักยภาพในการแข่งขันได้มากขึ้น
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ความรู้ สร้างทักษะ ความเข้าใจในปรัชญา ความหมาย เป้าหมาย วัตถุประสงค์ และเครื่องมือของต่าง ๆ ของ Lean และ Kaizen
2. เพื่อสามารถวางแผน สรรค์สร้าง ปรับปรุง พัฒนากระบวนการผลิต โดยใช้แนวทางแบบ Lean Kaizen ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อลดต้นทุน ลดระยะเวลาการดำเนินงาน ลดความสูญเปล่า ลดข้อบกพร่องและความสูญเสียเพิ่มคุณค่าให้กับการดำเนินงานของผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง
4. เพื่อสามารถนำเอาหลักการ Lean มาประยุตก์ใช้กับหลักการ Kaizen อย่างได้ผล
5. เพื่อผู้เข้าอบรมสามารถนำเอาความรู้เรื่อง Lean และ Kaizen ไปร่วมกันดำเนินการจัดตั้งทีมงานภายในองค์กรได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
เนื้อหาหลักสูตร
1. Lean และ Kaizen คืออะไร หลักการ จุดประสงค์ ประโยชน์ที่ได้รับ
2. ความเหมือนและความแตกต่างระหว่าง Lean และ Kaizen
- การลดความสูญเปล่า 7 + 1 ประการ (7 + 1 Weaste)
- การเพิ่มคุณค่า (Value Added)
- การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuous improvement: Kaizen)
3. เครื่องมือของ Lean และ Kaizen
- หลักการ Just in time
- ผังสารธารแห่งคุณค่า (Value Stream Mapping: VSM)
- การผลิตอย่างต่อเนื่อง (Continuous Flow)
- การปรับเรียบการผลิต (Balancing Line)
- การทำงานอย่างเป็นมาตรฐาน (Standardized Works)
- การผลิตแบบดึง (Pull System: Kanban)
- การปรับเปลี่ยนรุ่นการผลิต (Single Minute Exchange of Dies: SMED)
- การบำรุงรักษาเครื่องจักรแบบทวีผล (Total Productive Maintenance: TPM)
- หลักการ 3 Mu (Muri, Muda, Mura)
- หลักการ ECRS (Eliminate, Combine, Re-arrange)
- หลักการ 3R (Re-use, Re-cycle, Reduce)
4. การประยุกต์ใช้ Lean Kaizen ในการปรับปรุงกระบวนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพด้วยเครื่องมือ Karakuri Kaizen & Device
5. การวัดผลการดำเนินงานกระบวนการผลิตด้วย Lean Kaizen
6. การนำเอา Lean Kaizen ร่วมกับหลักการอื่น ๆอย่างได้ผล
- หลักการ 5ส.
- การหาสาเหตุของปัญหาด้วยหลักการ 5 Gen
- หลักการ 5W1H
- การถามคำถามด้วย 5 Why
- หลักการ PDCA (Plan, Do, Check, Action)
7. กลยุทธ์การปรับปรุงองค์กรและการดำเนินงานด้วย Lean Kaizen ได้อย่างยั่งยืน
ระยะเวลาอบรม 1 วัน ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น.
รูปแบบการฝึกอบรม การบรรยาย การให้คำปรึกษา แนะนำ ถาม-ตอบ Workshop (Option)
กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหลัก ผู้บริหารระดับสูง, ผู้จัดการโรงงาน/ ผู้บริหารระดับกลาง หรือเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ ฝ่ายผลิต ฝ่ายควบคุมคุณภาพ ฝ่ายวางแผนการผลิต วิศวกร
06 สิงหาคม 2567
ผู้ชม 191 ครั้ง