ดูหน้า
ดูหน้า
หลักสูตร การออกแบบระบบบริหารผลงานอย่างบูรณาการให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร
หลักสูตร การออกแบบระบบบริหารผลงานอย่างบูรณาการให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร
หลักการและเหตุผล
การประเมินผลงานคือการนำผลการปฏิบัติงานมาเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่คาดหวัง ซึ่งความคาดหวังของค์กรคือ วิสัยทัศน์ หรือ เป้าหมาย/แผนธุรกิจ ที่องค์กรต้องการให้พนักงานของตนสามารถสร้างผลงานได้ตามแผนที่กำหนดไว้ แต่การประเมินผลงานอย่างเดียวจะบอกได้แต่เพียงว่าสำเร็จหรือไม่สำเร็จเท่านั้น ไม่ได้หมายถึงการทำอย่างไรให้ผลงานของพนักงานเชื่อมโยงและสนับสนุนเป้าหมายขององค์กร จึงต้องอาศัยระบบการบริหารผลงานของพนักงานแต่ละคนเพื่อให้สร้างผลงานตามแผนที่กำหนดด้วย แต่การบริหารผลงานที่ดีจะต้องไม่เกิดปัญหาเหล่านี้
- ประเมินผลงานแล้ว ไม่สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร ?
- ต่างฝ่ายต่างมีเป้าหมายและตัวชี้วัดไม่เหมือนกัน จะประเมินผลอย่างไรให้มีความเป็นธรรม ?
- ประเมินผลแล้วจะนำไปเชื่อมโยงกับระบบค่าตอบแทน เช่น การขึ้นค่าจ้าง การจ่ายโบนัส หรือการพัฒนาคนอย่างไร?
- ปัญหาอื่นๆ อาทิเช่น หัวข้อ/รูปแบบในการประเมินผลไม่ชัดเจน, การประเมินผลใช้ความรู้สึกเป็นตัววัด, หัวหน้างานไม่กล้าแจ้งผลต่อลูกน้อง พนักงานไม่ยอมรับ ฯลฯ
หลักสูตรนี้ ได้ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นมา เพื่อการจัดทำระบบบริหารผลการปฏิบัติงานแบบบูรณาการ คือนอกจากเป็นระบบที่จะทำให้ผลงานของพนักงานสอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายขององค์กรแล้ว ยังเป็นการบริหารผลงานแบบรอบทิศทางทั้งพนักงานภายในฝ่ายงาน ระหว่างฝ่ายงาน และองค์กรหรือที่เรียกว่า ผลงานรวมทั้งองค์กร (Integration) อีกด้วย
วัตถุประสงค์
1. เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับหลักการ แนวคิด และแนวปฏิบัติของการบริหารผลการปฏิบัติงานสมัยใหม่
2. สามารถกำหนดตัวชี้วัด (Key Result Area) ในการทำงานของตำแหน่งงานทั้งในด้านผลงาน (Performance) และพฤติกรรม (Competency) ในการทำงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กรได้
3. สามารถออกแบบกระบวนการและวิธีการในการบริหารผลงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
4. เรียนรู้กระบวนการออกแบบการประเมินผลงาน และเครื่องมือต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการบริหารผลงาน
5. สามารถนำผลภาคปฏิบัติงานมาเชื่อมโยงกับการปรับค่าจ้างประจำปี การกำหนดแผนพัฒนารายบุคคล และกำหนดแนวทางการพัฒนาสายอาชีพของพนักงานได้
หัวข้อการบรรยายและ Workshop
1. แนวคิดและหลักการของการบริหารผลงาน กับการบริหารจัดการองค์กร
2. ความแตกต่างระหว่างการบริหารผลงาน และการประเมินผลงาน
3. ขั้นตอนของการบริหารผลการปฏิบัติงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Performance Management Process)
4. เครื่องมือสำคัญในการประเมินผลการปฏิบัติงานสมัยใหม่ ที่สอดคล้องกันแบบบูรณาการ
5. การกำหนด Corporate KPIs เพื่อวัดผลการดำเนินงานขององค์กร และการถ่ายทอดสู่ฝ่ายงานต่าง ๆ ด้วยเครื่องมือแผนที่กลยุทธ์
Workshop: การเขียนแผนที่กลยุทธ์เพื่อจัดทำแผนการปฏิบัติงานและวัดผลงาน
6. การกำหนดตัวชี้วัด(KPI) และสมรรถนะ(Competency) ขององค์กร ของฝ่ายงาน และรายบุคคล ให้สอดคล้องกันและเชื่อมโยงกับเป้าหมายขององค์กร
Workshop: การกำหนด Functional KPIs ของฝ่ายงาน และ รายบุคคล
7. SMART JD เครื่องมือการกำหนด Functional Job Description และ Position Job Description ที่สอดคล้องกับ Vision Mission ขององค์กร
8. การวิเคราะห์หาตัวชี้วัด (KPI) และ สมรรถนะ (Competency) จาก SMART JD เพื่อใช้บริหารและประเมินผล
9. เทคนิคการออกแบบและพัฒนาระบบบริหารผลการปฏิบัติงาน (PMS Design and Implement) ที่มี KPIs และ Competency
กรณีศึกษา ระบบบริหารผลการปฏิบัติงานและแบบประเมินที่มี KPI และ Competency
10. รูปแบบและวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การประเมิน 90 องศา, 180 องศา, 270 องศา และ 360 องศา และตัวอย่างแบบฟอร์มประเมินผลการปฏิบัติงาน
- กระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Appraisal, Coaching and Feedback)
- ปัญหาและข้อผิดพลาดที่พบบ่อยในการประเมินผลการปฏิบัติงาน
- แนวทางการกำหนดปัจจัยและน้ำหนักในการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี
- การเตรียมความพร้อมสำหรับการประเมินผลการปฏิบัติงาน ก่อนประเมิน ระหว่างการประเมิน และหลังการประเมินฯ
- เทคนิคการแจ้งผลการปฏิบัติงานของพนักงานที่มีผลงาน สูงกว่าเป้าหมาย ผลงานบรรลุเป้าหมาย และผลงานต่ำกว่าเป้าหมาย
กรณีศึกษาและตัวอย่าง Flow การบริหารและประเมินผลการปฏิบัติงาน
11. การเชื่อมโยงการประเมินผลการปฏิบัติงานกับ HR System เช่น การปรับเงินเดือน การจ่ายโบนัส การพัฒนางานพนักงานคน และองค์กร ฯลฯ
กรณีศึกษาและตัวอย่างการให้รางวัลตอบแทน (Reward System) ที่สอดคล้องกับผลการปฏิบัติงาน
กรณีศึกษาและตัวอย่าง การเชื่อมโยงกับแผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan : IDP)
12. ถาม – ตอบปัญหาและแลกเปลี่ยนประสบการณ์
หมายเหตุ หัวข้อที่เสนอสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของลูกค้าหรือตามความคิดเห็นของวิทยากร
11 พฤศจิกายน 2564
ผู้ชม 1036 ครั้ง