ดูหน้า
ดูหน้า
หลักสูตร การจัดทำ Smart JD
หลักสูตร การจัดทำ Smart JD
หลักการและเหตุผล
ใบบรรยายลักษณะงาน เป็นเอกสารที่มีความสำคัญต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์เป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะเป็นการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งงานแล้ว ยังมีข้อมูลที่มีความสำคัญต่อนการบริหารทรัพยากรบุคคลอีกมาก แต่การจัดทำใบบรรยายลักษณะงานในปัจจุบัน ซึ่งเป็นยุคของการแข่งขันทางธุรกิจ ที่มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นด้านกลยุทธ์องค์กร เทคโนโลยี่ หรือการเปลี่ยนแปลงกระบวนการ ฯลฯ เป็นเหตุให้บทบาทหน้าที่ของคน ต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ถ้าองค์กรไม่มีการจัดทำ Job Description หรือ มี แต่การจัดทำไม่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล ตลอดจนความไม่ชัดเจนและความไม่เข้าใจในงานที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ทันกับความต้องการขององค์กร ดังนั้น คุณสมบัติของใบบรรยายลักษณะงานในยุคปัจจุบัน จึงต้องมีความยืดหยุ่น พร้อมปรับเปลี่ยนตามได้รวดเร็ว มีความกระชับ แต่ยังคงประสิทธิภาพในการนำไปใช้งานได้เป็นอย่างดี
“SMART JD” จึงมีบทบาทสำคัญในการบริหารทรัพยากรบุคคลในปัจจุบัน เพราะเขียนอยู่บนหลักการ SMART จึงมีความกระชับ ฉลาด คล่องแคล้ว ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ในกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล และที่สำคัญคือการเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ขององค์กร อีกด้วย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ถึงขั้นตอนและกระบวนการทำงานของ Sales Support และ Sales
Administration
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ฝึกทักษะต่างๆ ที่เป็นหัวใจสำคัญของการทำงานในหน่วยงาน Sales Support และ Sales Administration
หัวข้อการบรรยายและ Workshop
1. ความสำคัญและแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ในการจัดทำ JD (คำบรรยายลักษณะงาน) ภายในองค์กร
- ความหมายและประโยชน์ของ JD
- องค์ประกอบหลักของ JD
- ใครควรเป็นผู้จัดทำ JD
- ข้อจำกัดและแนวทางแก้ไขในการจัดทำ JD
2. ความเชื่อมโยงและความสัมพันธ์ของยุทธศาสตร์องค์กร โครงสร้างการทำงาน และคำบรรยายลักษณะงานกับกระบวนการจัดทำ JD เพื่อกำหนดบทบาทหน้าที่ของคนให้ทำงานสนับสนุนเป้าหมายขององค์กรร่วมกันเป็นหลัก
3. เทคนิคการกำหนดบทบาทหน้าที่ (JD) เพื่อป้องกันปัญหา
- งานซ้ำซ้อนระหว่างหัวหน้า-ลูกน้อง
- JD ตำแหน่งผู้จัดการ เหมือนกับ JD ตำแหน่งของลูกน้อง (ผู้จัดการทำงานแบบเสมียน)
- งานที่ควรจะทำ ไม่ใช่งานที่อยากจะทำ
- งานซ้ำซ้อนกันระหว่างหน่วยงานเดียวกัน และต่างหน่วยงาน
- ฯลฯ
4. . การวิเคราะห์งาน จุดเริ่มต้นของกระบวนการเขียน JD
5. ทำไมต้องเป็น SMART JD และมีรูปแบบ มีองค์ประกอบอย่างไร ?
6. ขั้นตอนและวิธีการจัดทำใบบรรยายลักษณะงานภายใต้หลักการ SMART JD
- การเขียนบรรยายในส่วนต่าง ๆ ของ SMART JD
- ฝึกปฏิบัติการเขียน SMART JD ในแต่ละส่วน
- ตัวอย่าง SMART JD
- Workshop: ฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์งานและการเขียน SMART JD
7. เทคนิคการวิเคราะห์ Competency จาก SMART JD เพื่อการฝึกอบรมพัฒนาพนักงาน
- หลักการและแนวคิดของ Competency
- ประเภทและความหมายของ Competency
- ความสำคัญของ Competency แต่ละประเภท กับบุคลากรแต่ละระดับ
8. เทคนิคการวิเคราะห์และกำหนด KPI จาก SMART JD เพื่อการบริหารผลการปฏิบัติงานและกำหนดตัวชี้วัด
- ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวชี้วัดความสำเร็จ
- คุณลักษณะและประเภทของตัวชี้วัด
- การกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย
- Workshop: ฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์ Competency และ KPI จาก SMART JD
9. การนำ SMART JD ไปใช้ประโยชน์ในกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล อาทิ
- การประเมินผลการปฏิบัติงานด้วย KPI และ Competency
- การสรรหาคัดเลือกพนักงาน
- การฝึกอบรมพัฒนาพนักงาน
- การประเมินค่างาน
- ฯลฯ
10. สรุปและตอบคำถาม
หมายเหตุ หัวข้อที่เสนอสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของลูกค้าหรือตามความคิดเห็นของวิทยากร
ดูสไตล์การสอนของวิทยากรได้ที่ https://www.youtube.com/user/hipotraining
11 พฤศจิกายน 2564
ผู้ชม 1361 ครั้ง