14 มีนาคม 2567
ผู้ชม 275 ผู้ชม
หลักสูตร
การสร้างจิตสำนึกด้านคุณภาพ
(Quality Awareness Thinking)
อาจารย์อนันต์ ดีโรจนวงศ์
หลักการและเหตุผล
การควบคุมคุณภาพ (Quality Control) หมายถึง กิจกรรมและกลวิธีการปฏิบัติเพื่อสนองความต้องการด้านคุณภาพภายในระบบการผลิตและการบริการ โดยการตรวจสอบ การวัด และการทดสอบที่มุ่งจะควบคุมวัตถุดิบ กระบวนการ และการกำจัดสาเหตุของข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการทั้งหมด
การควบคุมคุณภาพเน้นการตรวจสอบและแยกแยะของดีและของเสียออกจากกัน โดยระบุเป็นร้อยละของของเสียที่พบจากล็อตการผลิต เพื่อควบคุมมิให้ของเสียมีมากเกินกว่าที่กำหนดและในปัจจุบันการควบคุมคุณภาพมุ่งเน้นที่ของเสียต้องเป็นศูนย์ (Zero Defect)
เป้าหมายของการควบคุมคุณภาพสินค้า คือการผลิตสินค้าให้เป็นไปตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ และสามารถสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าสูงสุด ด้วยกระบวนการ Inspection คือกระบวนการการตรวจสอบตำหนิและจุดบกพร่องของผลิตภัณฑ์ เพื่อที่จะทำการส่งกลับไปแก้ไขหรือคัดทิ้ง จากนั้นจึงทำการบันทึกและเก็บสถิติของลักษณะรวมทั้งจำนวนผลิตภัณฑ์ต่างๆที่เกิดขึ้น แล้วจึงทำการแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้ผู้ผลิตสามารถทำการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพใกล้เคียงกับคุณสมบัติที่ตั้งไว้มากที่สุดต่อไป
ดังนั้นผู้ผลิตจึงต้องมีจิตสำนึกในด้านคุณภาพ ด้วยการควบคุมคุณภาพในทุกขั้นตอนของการดำเนินงานผลิต และต้องมีการพัฒนา ปรับปรุงกิจกรรมด้านคุณภาพให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอยู่ตลอดเวลาด้วยการสร้างจิตสำนึกด้านคุณภาพ โดยรวมถึงฝ่ายต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าอีกด้วย เช่น ฝ่ายจัดซื้อวัตถุดิบ ฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายวางแผนการผลิต เป็นต้น
หลักสูตรนี้จะทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้เข้าใจหลักการ, แนวคิด และวิธีการทำแก้ปัญหา หรือปรับปรุงคุณภาพในหน้างานได้อย่างแท้จริง ตลอดจนสามารถนำแนวคิดและวิธีปฏิบัติดังกล่าวไปใช้ในงานที่รับผิดชอบได้เป็นอย่างดีด้วยการมีจิตสำนึกด้านคุณภาพตลอดทั่วทั้งองค์กร ไม่ว่าจะเป็นงานในสายการผลิตหรือสายบริการ และยังสามารถถ่ายทอดต่อไปยังบุคคลอื่น ๆ อย่างง่ายดาย
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักการเทคนิควิธีการ และขั้นตอนในการดำเนินกิจกรรมด้านคุณภาพอย่างถูกต้อง
2. ฝึกปฏิบัติให้เกิดทักษะในการนำไปประยุกต์ใช้ในการทำกิจกรรมด้านคุณภาพ
3. ปรับปรุงคุณภาพงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
4. เรียนรู้วิธีการเขียนและวิเคราะห์ปัญหาด้านคุณภาพด้วยหลักการ QC Story
5. เรียนรู้การแก้ปัญหาและป้องกันปัญหาด้านคุณภาพที่เกิดขึ้น (Corrective & Preventive Action)
6. เพื่อให้ทราบแนวคิด ความสำคัญของการเสนอแนะปรับปรุงงานด้วยการสร้างจิตสำนึกด้านคุณภาพทั่วทั้งองค์กร
หัวข้อการอบรม
- แนวคิดและความสำคัญของคุณภาพกับการเพิ่มผลผลิต (Quality & Productivity)
- บทบาทและหน้าที่ของพนักงาน Quality Control
- 7 ขั้นตอนการเริ่มทำงานของระบบ QCC (Quality Control Cycle)
- QCC กับ TQM มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
- ลักษณะสำคัญที่กิจกรรม QCC
- กิจกรรมกลุ่มควบคุมคุณภาพและการจัดการคุณภาพโดยรวม
- ขั้นตอนการควบคุมคุณภาพ
- การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (Total Quality Management: TQM)
- การวิเคราะห์หาสาเหตุโดยเทคนิค Why - Why Analysis
- การวิเคราะห์กระบวนการ (การค้นหาปัญหาโดย 5 G )
- การควบคุมคุณภาพด้วยหลักการ QC 7 Tools
- การกำหนดแนวทางปรับปรุงที่กำจัด สาเหตุความผิดพลาด
- หลักการและความสำคัญของการเสนอแนะปรับปรุงงานด้วย 5ส. และ KAIZEN
- การสร้างจิตสำนึกด้านคุณภาพที่เป็นมาตรฐาน
- กรณีศึกษากิจกรรมการปรับปรุง
ผู้เข้ารับฟังการอบรม กลุ่มหลัก หัวหน้างาน / ผู้บริหารระดับกลาง หรือเจ้าหน้าที่ระดับบริหารด้าน
การจัดการควบคุมคุณภาพ, ฝ่ายผลิต, ฝ่ายคลังสินค้า และฝ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวช้อง
หมายเหตุ: หัวข้อที่เสนอสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของลูกค้าหรือตามความเห็นของวิทยากร
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
- Tel. : 086-318-3151
- E-mail : hipotraining@gmail.com
- Website : www.hipotraining.co.th
- ID Line@ : @761mvknp