โปรโมชั่น มา 3 ท่าน ลดเหลือ 3500
หลักสูตร แนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร Carbon Footprint for Organization (CFO)
เป็นวิธีการหนึ่งที่แสดงข้อมูลการปล่อยและดูดกลับแก๊สเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการดำเนินงานขององค์กรทั้งการผลิตและการบริการขององค์กร สามารถจำแนกสาเหตุของการปล่อยแก๊สเรือนกระจกที่มีนัยสำคัญ และนำไปสู่การกำหนดแนวทางการบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

17 พฤษภาคม 2568

ผู้ชม 5 ผู้ชม

แนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร

Carbon Footprint for Organization (CFO)

 

หลักการและเหตุผล

          การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม การใช้พลังงาน การขนส่ง การทำเกษตรกรรมและปศุสัตว์ การตัดไม้ทำลายป่า การทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในรูปแบบต่างๆ ล้วนเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนทั้งสิ้น ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน เป็นปัญหาสำคัญที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกต่างตื่นตัวที่จะดำเนินงานเพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้น หลายประเทศมีการคำนวณหาปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์เพื่อติดตามตรวจสอบและรายงานผลการปล่อยหรือดูดกลับแก๊สเรือนกระจก ตลอดจนพยายามที่จะหาแนวทางในการบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกอย่างมีประสิทธิภาพ

          การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization: CFO หรือ Corporate Carbon Footprint: CCF) เป็นวิธีการหนึ่งที่แสดงข้อมูลการปล่อยและดูดกลับแก๊สเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการดำเนินงานขององค์กรทั้งการผลิตและการบริการขององค์กร สามารถจำแนกสาเหตุของการปล่อยแก๊สเรือนกระจกที่มีนัยสำคัญ และนำไปสู่การกำหนดแนวทางการบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในระดับหน่วยงาน บริษัท โรงงาน ระดับอุตสาหกรรม และระดับประเทศ อีกทั้งสามารถใช้เป็นเครื่องมือประเมินการปล่อยแก๊สเรือนกระจกที่เกิดขึ้น และช่วยเสริมสร้างศักยภาพให้แก่ผู้ประกอบการและธุรกิจของไทยให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีการค้าโลก ตลอดจนเป็นการเตรียมความพร้อมในกรณีที่ภาครัฐต้องรายงานปริมาณการปล่อยและดูดกลับแก๊สเรือนกระจก (Greenhouse Gas Reporting) ขององค์กรต่างๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางบริหารจัดการการปล่อยแก๊สเรือนกระจกของประเทศไทย (อ้างอิงจากเอกสารแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรของ อบก.)

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและวิธีการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ขององค์กร ตามแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์สากล

2. เพื่อให้สามารถคำนวณปริมาณคาร์บอนฟุตพรินต์ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการดำเนินงานขององค์กรได้

3. เพื่อให้นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการวิเคราะห์หาแหล่งปล่อยแก๊สเรือนกระจกที่มีนัยสำคัญจากกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร (Hot Spot) และหาแนวทางการบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกขององค์กรได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

4. เพื่อขยายผลการจัดทำคาร์บอนฟุตพรินต์ขององค์กรของประเทศไทย และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการและธุรกิจของไทยให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีการค้าโลก

 

กลุ่มเป้าหมาย : บุคลากรในระดับผู้บริหาร ผู้จัดการ หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการ ในหน่วยธุรกิจ หน่วยการผลิต หรือหน่วยกิจกรรม ของบริษัท ที่ต้องการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ขององค์กร และนำผลการประเมินไปใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจหรือกำหนดมาตรการลดแก๊สเรือนกระจก

 

หัวข้อการอบรม

1. บทนำ

2. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคาร์บอนฟุตพรินต์

3. หลักการการแสดงผลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร

4. 7 GHGs ชนิดก๊าซเรือนกระจกที่ใช้ในการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์

5. หลักการแสดงปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร CFO

6. ขั้นตอนกระบวนการรายงานปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมขององค์กร

7. แนวทางการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

8. การจัดทำเอกสารเพื่อรายงานคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร CFO

9. กิจกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

10. กรณีศึกษาการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ (Case Study)

11. การทวนสอบผลการคำนวณปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกขององค์กร

12. Q&A

 

กำหนดการอบรม : (Day-1) 09.00-16.00 น.

รูปแบบการอบรม : บรรยาย 60 % ,Work shop 40%

ผู้เข้าอบรม: QMR , IQA TEAM ,ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานทุกระดับของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบบริหารคุณภาพ

วิทยากรประจำหลักสูตร : อาจารย์วัชระ ศรีปาน

 

รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ

     

Engine by shopup.com