ดูหน้า
ดูหน้า
หลักสูตร OKRS กับการพัฒนาองค์กรและการทำงานให้สำเร็จ
หลักสูตร OKRS กับการพัฒนาองค์กรและการทำงานให้สำเร็จ
(OBJECTIVES AND KEY RESULTS for Better Works)
ดร.พิพัฒน์พล เพ็ชรเที่ยง
PRINCIPLES
OKRs เป็นเครื่องมือใช้ในการบริหารจัดการองค์กร ด้วยการกำหนดเป้าหมายและผลลัพธ์หลัก เป็นตัววัดผลเพื่อบอกให้รู้ว่าได้บรรลุจุดมุ่งหมายนั้นแล้ว OKRs ถือเป็นตัวประสาน ระหว่างผู้บริหาร หัวหน้างาน และผู้ปฏิบัติงาน โดยทุกระดับจะต้องกำหนด Objective ที่สนับสนุนและเชื่อมโยงถึงกัน และกำหนดตัววัดผล หรือ Key Results ที่สามารถวัดผลในเชิงปริมาณได้ที่เกื้อหนุน Objectives เท่านั้น ซึ่งบางหน่วยอาจจะกำหนด OBJECTIVE ในรูปแบบนามธรรม จนคิดว่าไม่สามารถกำหนดตัววัดผลเชิงปริมาณได้
บริษัทชั้นนำของโลกหลายแห่ง เช่น Google, Intel, LinkedIn, Oracle, Twitter ต่างหันมาใช้ OKR กันมากขึ้น และเป็นการใช้แทน KPI แบบที่เราคุ้นเคยกัน OKR ย่อมาจาก Objective and Key Results ซึ่งเป็นเทคนิคในการตั้งเป้าหมายการทำงานวิธีหนึ่ง ซึ่งจริงๆ ไม่ได้เป็นวิธีที่ใหม่ การใช้ OKR เป็นตัวกำหนด สื่อสารเป้าหมาย และผลลัพธ์ที่คาดหวังให้กระจายไปทั่วทั้งองค์กร โดยมีวัตถุประสงค์หลักที่จะทำให้เป้าหมายของบริษัท ของหน่วยงานต่างๆ และของแต่ละบุคคลมีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกัน กับผลลัพธ์ที่สามารถวัดผลได้อย่างชัดเจน ช่วยทำให้พนักงานทุกคนรู้ว่าอะไร คือสิ่งที่องค์กรคาดหวังจากพวกเขา เป็นที่เปิดเผยทั่วไป ทุกคนสามารถที่จะเห็นและดูของคนอื่นได้ ทำให้ทุกคนไปในทิศทางเดียวกัน
OBJECTIVES
1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทุกระดับงานมีความรู้ ความเข้าแนวคิด วิธีการในการนำ OKR มาปรับประยุกต์ใช้ในองค์การได้เป็นรูปธรรม
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจหลักการ และความต่างการวัดผลแบบ KPI(Key Performance Indicators) และ OKR (Objective and Key Results) มีรูปแบบต่างกันอย่างไร
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมฝึกวิธีการคิด วิเคราะห์ กำหนดทิศทางกระบวนการของ OKR ไปปรับประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพต่อหน่วยงานของตนเองได้
AREAS OF STUDY
กรอบการเรียนรู้ที่ 1 ความสำคัญของการวัดผลการปฏิบัติงานขององค์กร
1. แนวคิดและแนวทางการใช้ OKR เพื่อเป็นวิธีการตั้งเป้าหมายให้แต่ละคน เพื่อเป้าหมายของทุกๆคนสอดคล้องกันทั้งองค์กร
2. ทำไมต้องใช้ OKR สำหรับการวัดผลการทำงานของบริษัทยุคใหม่
3. เปรียบเทียบหลักการ และความแตกต่างของ KPI และ OKR
4. การสร้างทิศทางของคนทำงานเพื่อจุดมุ่งหมายเดียวกัน
5. การสร้างวินัย และการกำหนดงานด้วยการทำทีละงาน และทบทวนอย่างสม่ำเสมอ
กรอบการเรียนรู้ที่ 2 กระบวนการออกแบบระบบ OKRs
6. แนวทางการกำหนด Objective จากจาก Mission, Vision ขององค์กร สู่เป้าหมาย
> การทบทวนวัตถุประสงค์และผลลัพธ์หลักขององค์กร
> แนวทางการสื่อสาร OKRs ด้วย Strategic Mapping (OKRs alignment )
> การใช้ Balance Scorecard สำหรับการกำหนด Objective และ Key Results
> ขั้นตอนการนำ OKRs ไปใช้ในการบริหารคนและองค์กร (OKRs Process)
7. วิธีการสร้างกระบวนการทำงานที่ชัดเจนและวัดผลได้
> การตั้ง Objective ที่เหมาะสมควรเชิปริมาณ
> การกำหนด Key Results ให้มีเหตุมีผลเป็นรูปธรรมและสอดคล้องกันทั้งองค์กร
> WORKSHOP : ฝึกปฏิบัติจัดทำ Department’s OKRs /Section’s OKRs
กรอบการเรียนรู้ที่ 3 การนำระบบ OKRs ไปใช้กับการพัฒนาองค์กรและการทำงานให้สำเร็จ
8. การวิเคราะห์ Key Result ของแต่ละเป้าหมาย เพื่อจำแนกเป็น Action Plan
9. ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการจัดทำ OKRs ด้วย Mindset ของผู้บริหารและพนักงาน
10. สรุปประเด็น/คำถามแลกเปลี่ยนประสบการณ์/ปิดการสัมมนา
วิธีการฝึกอบรม – สัมมนา
เป็นการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ (Dynamic & Workshop) เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน (Learning by Doing and Participating with Experiences) ซึ่งประกอบด้วย
{ การบรรยาย { กิจกรรม และเกม { การแสดงออก
{ กลุ่มสัมพันธ์ { การแสดงความคิด ถาม – ตอบ
หมายเหตุ หัวข้อที่เสนอสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของลูกค้าหรือตามความคิดเห็นของวิทยากร
ดูสไตล์การสอนของวิทยากรได้ที่ https://www.youtube.com/user/hipotraining
26 สิงหาคม 2567
ผู้ชม 774 ครั้ง