ดูหน้า
ดูหน้า
หลักสูตร สัมมนา การออกแบบเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพภาคปฏิบัติ
การออกแบบเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพภาคปฏิบัติ
วิทยากร : อาจารย์ ธนุเดช ธานี (อ.ต้น)
กรรมการผู้จัดการสถาบันฝึกอบรม People Develop Center
วิทยากรและที่ปรึกษาผู้ชำนาญการพิเศษด้าน HR จากประสบการณ์ 33 ปี
วิทยากรพิเศษด้าน HRD ของ SGS ACADEMY
วิทยากรพิเศษด้าน HRD คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)
อดีตกรรมการสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT) 2 สมัย
หลักการและเหตุผล
ออกแบบ Career Path อย่างไรให้ตำแหน่งงานไม่ตัน ??? พบกับกลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรบุคคล (Human Resources Development : HRD) ยุค New Normal ที่องค์กรชั้นนำยุคใหม่นิยมนำมาใช้ในการสร้าง แรงจูงใจและขวัญกำลังใจให้พนักงานในองค์กร คือ การกำหนดเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพของพนักงาน (Career Path: CP) ให้บุคลากรมองเห็นโอกาสความก้าวหน้าในชีวิตการทำงานในอนาคตของตนเอง ซึ่งนอกจากจะเป็นการสร้างขวัญขวัญกำลังใจในการทำงาน และส่งเสริมความผูกพันต่อองค์กรแล้ว ยังมีส่วนช่วยทำให้องค์กรมีบุคลากรคุณภาพเพิ่มมากขึ้น เพื่อมาพัฒนาระบบงานและพัฒนาองค์กรในตอบสนองความต้องการของลูกค้า ให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรที่กำหนดไว้ (Corporate KPI) และเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร (Competitive Advantage) อย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์
1. สามารถอธิบายหลักการ แนวคิด ความจำเป็น ความสำคัญ ขั้นตอน วิธีการ และเทคนิคการจัดทำ Career Path ได้
2. เสริมสร้างทักษะและเทคนิคในการออกแบบ Career Path ในการวางแผนให้บุคลากรมองเห็นโอกาสการเติบโตก้าวหน้าในสายอาชีพของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นรูปธรรม
3. สามารถออกแบบเกณฑ์และเงื่อนไขการเติบโตตาม Career Path Criteria ขององค์กรให้สอดคล้องกับโครงสร้างตำแหน่งงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชัดเจน เป็นรูปธรรม
4. สามารถออกแบบประเมินคนดีที่มีความเหมาะสมตามเกณฑ์ Career Path ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชัดเจน เป็นรูปธรรม
5. สามารถวิเคราะห์ Competency ในการจัดทำ Training Road Map ให้เชื่อมโยงกับ Career Path Criteria ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชัดเจน เป็นรูปธรรม
6. เสริมสร้างเทคนิคและวิธีการสัมภาษณ์และคัดเลือก เพื่อพิจารณาเลื่อนตำแหน่งงานบุคลากร
7. เสริมสร้างเทคนิคการเชื่อมโยง Career Path กับงาน HRD เกี่ยวกับ Training Road Map, Individual Development Plan, Succession Plan และ KPI ได้อย่างเป็นระบบ
8. สามารถนำความรู้ที่ได้รับมาปรับใช้ในการจัดทำ Career Path ได้อย่างสอดคล้องกับนโยบายและทิศทางขององค์กร
หัวข้อการอบรม
ส่วนที่ 1 : ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ Career Path
- ความหมายของ Career Path
- ความเหมือนและความแตกต่างระหว่าง Career Path กับ Succession Plan
- ประโยชน์ของ Career Path ในการพัฒนาบุคลากรและองค์กร
- การสร้างความผูกพันต่อองค์กรด้วย Career Path
ส่วนที่ 2 : การออกแบบ Career Path ภาคปฏิบัติ
- 6 เรื่องที่องค์กรต้องเตรียมตัวเบื้องต้นในการจัดทำ Career Path
- บทบาทของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำ Career Path
- แนวทางในการจัดทำ Career Path ภาคปฏิบัติ
ส่วนที่ 3 : การวิเคราะห์ผังโครงสร้างองค์กรและผังโครงสร้างตำแหน่งงาน
- ความเชื่อมโยงของรูปแบบของเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ กับผังโครงสร้างองค์กร
- การวิเคราะห์ผังโครงสร้างองค์กรและผังโครงสร้างตำแหน่งงาน
ส่วนที่ 4 : การกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเติบโตตาม Career Path Criteria สมัยใหม่ ด้วย KPI, Competency, ประสบการณ์การทำงาน และคนดีที่มีความเหมาะสม
- Organization Chart กับ Career Path
- การกำหนดเกณฑ์และเงื่อนไขการเติบโตตาม Career Path Criteria สมัยใหม่ ด้วย KPI, Competency, ประสบการณ์ทำงาน และคนดีที่มีความเหมาะสม
- ตัวอย่าง Career Path Criteria ยุคใหม่ (หลักเกณฑ์การพิจารณาเลื่อนตำแหน่งงาน)
- Workshop 1 : ฝึกปฏิบัติออกแบบ Career Path Criteria ขององค์กรให้สอดคล้องกับโครงสร้างตำแหน่งงาน
- ตัวอย่าง เงื่อนไข/รายละเอียดของ Career Path Criteria
- แนวทางการวิเคราะห์และกำหนดหลักเกณฑ์คนดีที่มีความเหมาะสมด้วยหลัก 4Cs
- Workshop 2 : ฝึกปฏิบัติคัดเลือกเกณฑ์ประเมินคนดีมีความเหมาะสมตาม Career Path Criteria ขององค์กร
ส่วนที่ 5 : การวิเคราะห์ Competency ให้เชื่อมโยงกับ Career Path Criteria ด้วย Training Road Map
- การวิเคราะห์งานและ Competency จาก Job Description ให้เชื่อมโยงกับ Career Path Criteria พร้อมตัวอย่าง
- Workshop 3 : ฝึกปฏิบัติวิเคราะห์ Competency ในการกำหนดเงื่อนไขของ Career Path Criteria
- การจัดทำ Training Road Map ให้เชื่อมโยงกับ Career Path Criteria
- ตัวอย่าง การจัดทำ Training Road Map ให้เชื่อมโยงกับ Career Path Criteria
- Workshop 4 : ฝึกปฏิบัติการเชื่อมโยง Competency สู่ Training Road Map
ส่วนที่ 6 : การจัดทำ Career Path Procedure ในการ Implement ระบบ
- 7 ขั้นตอนการดำเนินงานที่ควรจะกำหนดเป็น Career Path Procedure
- สรุปภาพรวมกระบวนการสำคัญในการจัดทำ Career Path
ส่วนที่ 7 : แนวทางการสัมภาษณ์และคัดเลือกพนักงานในการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งงาน (Interview and Selection for Promote)
- การกำหนด KPI และแบบประเมิน KPI ในการเลื่อนตำแหน่งงาน พร้อมตัวอย่าง
- วิธีการสัมภาษณ์และคัดเลือกเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงาน (KPI) สำหรับผู้บริหาร ในการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งงาน
- การกำหนด Competency และแบบประเมินขีดความสามารถ (Competency Assessment) ในการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งงาน พร้อมตัวอย่าง
- วิธีการสัมภาษณ์และคัดเลือกเกี่ยวกับความสามารถ (Competency) สำหรับผู้บริหาร ในการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งงาน
- การประเมินคนดีมีความเหมาะสม ในการเลื่อนตำแหน่งงาน พร้อมตัวอย่าง
ส่วนที่ 8 : เทคนิคการเชื่อมโยง Career Path กับระบบ HRD
- เทคนิคการจัดทำ Training Road Map ให้เชื่อมโยงกับ Career Path
- เทคนิคการจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan : IDP) ให้เชื่อมโยงกับ Career Path
- เทคนิคการจัดทำแผนสืบทอดตำแหน่ง (Succession Plan : SP) ให้เชื่อมโยงกับ Career Path
- เทคนิคการจัดทำ KPI ให้เชื่อมโยงกับ Career Path
รูปแบบและวิธีการเรียนรู้ :
- การบรรยาย (Lecture) ในรูปแบบการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ (Adult Learning)
- การเล่า Case ประสบการณ์
- การทำกิจกรรมกลุ่ม (Workshop) เชิงปฏิบัติการ: ในการจัดทำ Career Path และ Individual Development Plan ของจริง
- การแบ่งกลุ่มเพื่อระดมความคิด (Brain Strom) กระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนความเห็น (Discussion) เรียนรู้ซึ่งกันและกัน และการนำเสนอความคิดเห็น
- การตอบข้อซักถาม : เพื่อสร้างความเข้าใจที่ชัดเจน และกระตุ้นผู้เรียนรู้ให้คิดตาม
หมายเหตุ หัวข้อที่เสนอสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของลูกค้าหรือตามความคิดเห็นของวิทยากรรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
- Tel. : 086-318-3151
- E-mail : hipotraining@gmail.com
- Website : www.hipotraining.co.th
- ID Line@ : @761mvknp
25 มีนาคม 2567
ผู้ชม 804 ครั้ง