11 มกราคม 2568
ผู้ชม 8 ผู้ชม
VDA 6.3 Process Audit
วิทยากร : อาจารย์อนันต์ ภูพันคำ
หลักการและเหตุผล
มาตรฐานการจัดการคุณภาพในอุสาหกรรมยานยนต์ของยุโรป ผู้ผลิตยานยนต์ประเทศเยอรมนี ได้นำ VDA6.3 มาใช้การตรวจประเมินผู้ส่งมอบในระดับต่าง ๆ (Tier I, Tier II....) และคาดหวังให้ผู้ส่งมอบได้นำ VDA 6.3 มาตรวจประเมินตนเองและตรวจประเมินผู้ส่งมอบในระดับถัดไปด้วยเช่นกัน VDA 6.3 คือ การตรวจประเมิน Process Audit ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติว่าเป็นระบบการตรวจประเมินหน้างานที่ดีที่สุด เกณฑ์การตรวจประเมิน VDA เน้นที่คุณภาพของผลิตภัณฑ์และกระบวนการ เน้นที่ความสามารถด้านการผลิตของผลิตภัณฑ์และกระบวนการ เน้นที่ความเหมาะสมของกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ และหัวใจสำคัญคือความเสี่ยงที่จะทำให้เกิด NC และความล้มเหลว หรือทำให้เกิดปัญหาในการใช้งาน ดังนั้นองค์กรใดที่คาดหวังระบบการตรวจประเมินหน้างานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด และเป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญกับของเสียสูงสุด ควรประยุกต์ใช้มาตรฐาน VDA 6.3 นี้เป็นอย่างยิ่ง
VDA 6.3 เป็นกระบวนการตรวจประเมินกระบวนการอ้างอิงจากมาตรฐานสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มาจากเยอรมัน ใช้ในการตรวจประเมินกระบวนการทั้งผลิตและบริการ โดยมีกระบวนการและรายการตรวจประเมินตามกระบวนการที่กำหนดขึ้น เพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการดำเนินการอย่างถูกต้องและสอดคล้องกับความต้องการของมาตรฐาน จึงจำเป็นที่ทีมงานผู้ตรวจประเมินต้องมีความรู้ ทักษะในการดำเนินการอย่างเพียงพอ ทำให้ระบบได้รับการทวนสอบ นำไปสู่การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเรียนรู้ และเข้าใจหลักการพื้นฐานทั่วไป สำหรับผู้ตรวจประเมินกระบวนการ VDA 6.3
2. เพื่อให้สามารถมีทักษะการตรวจประเมินพื้นฐานตามหลักการใน VDA 6.3
3. เพื่อให้ทราบถึงคุณสมบัติสำหรับการนำการตรวจสอบกระบวนการภายในและภายนอกตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์
4. สามารถดำเนินการตรวจประเมิน และตัดสินผลการตรวจประเมินได้หัวข้อฝึกอบรม
รายละเอียดในการฝึกอบรม
1. การตรวจประเมินเชิงกระบวนการสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ (Automotive Process Approach Audit)
2. ความเชื่อมโยง IATF16949 กับ VDA 3
3. วงจรการตรวจประเมิน และภาพรวมโครงสร้างข้อกำหนด VDA 3
4. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกระบวนการสำหรบการวิเคราะห์ความเสี่ยง
5. คุณสมบัติสำหรับการเป็น VDA 3 Process Auditor
6. กระบวนการตรวจประเมิน
7. วิธีการตรวจประเมิน และการใช้แบบฟอร์มการตรวจประเมิน
8. ระบบการประเมินให้คะแนนและ กฎการ down grade, การรายงานผล
9. ปัญหา ข้อบกพร่อง ที่พบในการตรวจประเมิน และประเด็นระหว่างการตรวจโดย CB
10. รูปแบบการฝึกอบรม (บรรยายประกอบกิจกรรม แบบฝึกหัด)
รูปแบบการอบรม
บรรยาย 40 % , กิจกรรม 40 % , VDO 20 %
ระยะเวลาในการอบรม 1 วัน
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
- Tel. : 086-318-3151
- E-mail : hipotraining@gmail.com
- Website : www.hipotraining.co.th
- ID Line@ : @761mvknp