โปรโมชั่น มา 3 ท่าน ลดเหลือ 3500
หลักสูตร Individual Development Plan: IDP  (การจัดทำแผนพัฒนารายบุคคลอย่างไรให้สอดคล้องกับเป้าหมายองค์กร)
หมวดหมู่สินค้า: หลักสูตร ทรัพยากรบุคคล (HR)
แผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan: IDP) คือ กรอบหรือแนวทางที่จะช่วยให้บุคลากรในหน่วยงานสามารถปฏิบัติงาน ได้บรรลุตามเป้าหมายของหน่วยงาน และสายอาชีพของตน

16 มกราคม 2568

ผู้ชม 7 ผู้ชม

หลักการและเหตุผล

            แผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan: IDP) คือ กรอบหรือแนวทางที่จะช่วยให้บุคลากรในหน่วยงานสามารถปฏิบัติงาน ได้บรรลุตามเป้าหมายของหน่วยงาน และสายอาชีพของตนโดยมีวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาจุดอ่อน (weakness) และเสริมจุดแข็ง (Strength) ของบุคลากรในหน่วยงาน และจะมีประโยชน์อย่างยิ่งหากแผนพัฒนารายบุคคลนั้นถูกจัดทำให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ เป้าหมายและความต้องการขององค์กร ตามระบบสมรรถนะขององค์กร (Competency Training Roadmap) เพื่อให้มีบุคลากรมีศักยภาพพร้อมที่จะขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสำเร็จ

 

วัตถุประสงค์

1. เพื่อเรียนรู้หลักการ กระบวนการ ตลอดจนวิธีการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรเป็นรายบุคคล (IDP)

2. เพื่อให้เข้าใจถึงแนวคิดและความสำคัญของระบบ Competency ที่มีต่อการจัดทำแผน IDP

3. เพื่อให้สามารถกำหนดแผนพัฒนารายบุคคล (IDP) ได้อย่างเหมาะสมกับระดับตำแหน่งงานของแต่ละหน่วยงาน

 

เนื้อหาการเรียนรู้

1. แนวคิด และหลักการของ Individual Development Plan : IDP

  • การจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล (IDP) คืออะไร
  • ความสำคัญและวัตถุประสงค์ของการทำ IDP
  • บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และบทบาทในการจัดทำ IDP
  • ลักษณะที่ดีของ IDP

2. องค์ประกอบการจัดทำ Individual Development Plan: IDP

  • การวิเคราะห์เป้าหมายและความต้องการด้านสมรรถนะ (Competency) ของหน่วยงาน
  • การกำหนดสมรรถนะ (Competency) ปัจจัยที่นำมาใช้ในการกำหนด IDP คืออะไรมีกี่ประเภท และมีความสำคัญอย่างไร?
  • ขอบข่ายหน้าที่ความรับผิดชอบของงาน (Job Description) ในแต่ละตำแหน่งงาน
  • Workshop: การวิเคราะห์หาสมรรถนะที่ต้องการตามขอบข่ายหน้าที่ความรับผิดชอบของงาน
  • การกำหนดหลักสูตรฝึกอบรมตามระดับและประเภทของ Competency ทั้ง Core, Function & Managerial Competency
  • Workshop: การวิเคราะห์หาสมรรถนะ (Competency) ตามขอบข่ายหน้าที่ความรับผิดชอบงานของหน่วยงานและตำแหน่งงาน
  • Workshop: การกำหนดสมรรถนะ Competency ทั้ง Core, Function & Managerial Competency

3. ขั้นตอนการทำ IDP: Individual Development Plan

  • การหาช่องว่างสมรรถนะหลักตาม Competency เพื่อสรุปประเด็นเนื้อหาหลักสูตรฝึกอบรมเป็นรายบุคคล
  • Workshop การจัดทำ IDP: Individual Development Plan ระดับตำแหน่งงาน
  • Workshop: แบบประเมินช่องว่างสมรรถนะ (Competency Gap)

- การสังเกตพฤติกรรม

- การสัมภาษณ์แบบ ST-A-R

- การทดสอบ (Testing)

- การมอบหมายโครงการ  

4. การระบุเครื่องมือ/ วิธีการพัฒนาพนักงาน

  • การฝึกอบรมในห้องเรียน (Classroom Training)
  • เครื่องมืออื่นที่ไม่ใช่การฝึกอบรมในห้องเรียน (Non – Classroom Training)
  • Workshop: การระบุเครื่องมือ/ วิธีการพัฒนาพนักงานหน่วยงานและตำแหน่งงาน

5. การประชุมและหารือร่วมกันระหว่าง ผู้ที่ต้องพัฒนา หัวหน้างานและหน่วยงานทรัพยากรบุคคลเพื่อกำหนดแผน IDP

6. การติดตามและประเมินผลตามแผน IDP

  • Workshop การติดตามและประเมินผลตามแผน IDP

ประโยชน์ที่องค์กร และผู้เข้าอบรมจะได้รับ

ระดับพนักงาน

  • ปรับปรุง (To Improve) - IDP จะช่วยปรับปรุงความสามารถเดิมที่มีอยู่ไม่ว่าจะเป็นจุดอ่อน หรือจุดแข็ง

ก็ตาม พบว่าแผนงานดังกล่าวนี้มุ่งเน้นให้พนักงานปรับปรุงผลงานที่รับผิดชอบในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้พนักงานเกิดความเชื่อมั่นในการทำงาน อันนำไปสู่ขวัญและกำลังใจในการทำงานต่อไป

  • พัฒนา (To Develop)- นอกจากการปรับปรุงผลงานที่รับผิดชอบในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพแล้ว IDP

ยังช่วยทำให้เกิดการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการพัฒนาความสามารถในงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไปจากความสามารถเดิมที่มีอยู่ นั้นคือการเพิ่มศักยภาพในการทำงานของพนักงาน เพื่อให้มีความสามารถที่จะรับผิดชอบงานที่สูงขึ้นต่อไป

  • เตรียมความพร้อม (To Prepare) - พบว่าความใฝ่ฝันของพนักงานหลาย ๆ คนก็คือ ความก้าวหน้าในหน้าทีการงานที่เรียกว่า เส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Path) ในองค์กร การจัดทำ IDP จะช่วยให้พนักงานมีความพร้อมในการทำงานในตำแหน่งงานที่สูงขึ้น หรืองานที่ต้องโอนย้ายไปทำงานในหน่วยงานอื่นที่แตกต่างไปจากเดิม ทำให้พนักงานลดความรู้สึกวิตกกังวล ลดความเครียดและความกลัวที่จะไม่สามารถทำงานได้ตามที่ผู้บังคับบัญชาคาดหวัง

ระดับหน่วยงาน หรือหัวหน้างาน

  • การทดแทนงาน (Work Replacement) - IDP เป็นการเตรียมความพร้อมให้พนักงานเกิดความมั่นใจหากต้องโอนย้ายหรือหมุนเวียนงาน ทำให้พนักงานยอมรับไม่ปฏิเสธที่จะเปลี่ยนงานที่ไม่เคยรับผิดชอบมาก่อนก่อน ผลก็คือพนักงานเกิดทักษะการทำงานที่หลากหลายด้าน (Multi Skills) ความสามารถในการทำงานที่หลากหลายด้านนี้เองย่อมทำให้พนักงานสามารถทำงานทดแทนกันและกันได้ ซึ่งมีผลทำให้หัวหน้างาไม่ต้องหนักใจ หากกรณีพนักงานลาหยุดงานหรือลาออกไป
  • ผลงานของหน่วยงาน (Department Performance) - แน่นอนว่าเมื่อพนักงานปฏิบัติงานดีขึ้น ผลงานของพนักงานย่อมดีขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน ซึ่งผลงานของพนักงานย่อมดีขึ้นไปด้วยกัน เช่นกันซึ่งผลงานของพนักงานย่อมนำไปสู่ผลงานของหัวหน้างาน หรือหน่วยงานในที่สุด ดังนั้นความสำเร็จของหัวหน้างานย่อมเกิดขึ้นจากการเรียนรู้และการพัฒนาของพนักงานโดยมีหัวหน้างานเป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนาความสามารถของพนักงานเหล่านั้น

ระดับองค์กรโดยรวม

  • ผลงานขององค์กร (Corporate Performance) – ผลสำเร็จของหน่วยงานที่เป็นไปตามเป้าหมายหรือสูงกว่าเป้าหมายย่อมส่งผลต่อความสำเร็จขององค์กร แน่นอนว่าผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการสูงสุดมักจะหนีไม่พ้นเรื่องการเงิน ไม่ว่าจะเป็นกำไร รายได้ ส่วนแบ่งการตลาด ยอดขาย และผลลัพธ์ดังกล่าวนี้ จะเกิดขึ้นได้จากปัจจัยหลักที่สำคัญก็คือ “บุคลากร” ในองค์กร คำถามที่องค์กรจะต้องคิดเสมอก็คือ “จะทำอย่างไรให้พนักงานเกิดการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง” พบว่าการจัดทำ IDP เป็นหนึ่งในแผนงานหลักที่จะสามารถตอบโจทย์ที่กำลังเป็นปัญหาขององค์กรหลาย ๆ แห่งได้
  • การสร้างแบรนด์ให้กับองค์กร (Corporate Branding) – บุคลากรที่มีความสามารถย่อมมีส่วนช่วยสร้าง แบรนด์หรือภาพลักษณ์ขององค์กร แบรนด์ภายนอกก็คือ การพูดต่อกันแบบปากต่อปากเกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนาคนในองค์กร และพบว่าหนึ่งในปัจจัยที่พนักงานมักจะถามถึงเวลาสัมภาษ์งานก็คือ รูปแบบ เทคนิค และวิธีการพัฒนาคนในองค์กร นอกเหนือจากภาพลักษณ์ที่เกิดขึ้นภายนอกแล้ว การจัดทำ IDP ยังมีส่วนช่วยสร้างแบรด์ให้กับพนักงานภายในองค์กร ทำให้พนักงานมีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร มีความรักและความผูกพันกับองค์กร
  • ความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) – ความสำเร็จขององค์กรไม่ได้ขึ้นอยู่กับผลงานปัจจุบันเท่านั้น ความสำเร็จย่อมเกิดขึ้นจากการสร้างและรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันกับองค์กรภายนอก ดังนั้นความสำเร็จขององค์กรย่อมเกิดขึ้นจากการสร้าง และรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันกับองค์กรภายนอก หากองค์กรขาดการปรับปรุงและการพัฒนาคนอย่างต่อเนื่อง ความสำเร็จและความได้เปรียบในการแข่งขันย่อมเกิดขึ้นได้ยาก และเมื่อไหร่ก็ตามที่องค์กรสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันได้ องค์กรย่อมมีโอกาสสร้างผลงานสู่ความเป็นเลิศ (High Performance) ได้เช่นกัน

รูปแบบการอบรม/สัมมนา

  • การบรรยายแบบมีส่วนร่วม (Participative Technique) 20 %
  • Workshop การจัดทำ IDP: Individual Development Plan ระดับตำแหน่งงาน 80%
  • กรณีศึกษา IDP: Individual Development Plan

คุณสมบัติของผู้อบรม/สัมมนา

พนักงานระดับผู้จัดการ หัวหน้าหน่วยงานต่าง ๆ หรือตำหน่งเทียบเท่า ตามที่ทางบริษัทฯ กำหนด

ระยะเวลา

         2 วัน/รุ่น เวลา 09.00-16.00 น.

ทีมวิทยากร

อาจารย์ ดร. อิทธินันท์  สันทัศ  
วิทยากรและที่ปรึกษาอิสระ ด้านการพัฒนาองค์กรเชิงกลยุทธ์และพัฒนาทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์ 

รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ

Engine by shopup.com