21 มกราคม 2568
ผู้ชม 4 ผู้ชม
Manpower Planning
(การวางแผนอัตรากำลังคน)
อาจารย์ ดร. อิทธินันท์ สันทัศ
วิทยากรและที่ปรึกษาอิสระ ด้านการพัฒนาองค์กรเชิงกลยุทธ์
และพัฒนาทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์
หลักการและเหตุผล:
หลายองค์กรหันมาให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์อัตรากำลัง (Workforce Analysis) เพื่อการบริหารอัตรากำลังคนและการวางแผนกำลังในหน่วยงานให้มีความเหมาะสม และเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจมากขึ้น และเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่นำมาใช้เพื่อการวิเคราะห์อัตรากำลังคน คือการใช้ข้อมูลภาระงาน (Workload) ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในองค์กร ทั้งธุรกิจโรงงานอุตสาหกรรม และธุรกิจอื่น ๆ รวมทั้งสำนักงานทั่วไป
วิธีการลริหารจัดการเรื่องคนให้เหมาะสม ตั้งแต่รูปแบบการจัดการองค์กร การวางกลยุทธ์การบริหารคน การออกแบบโครงสร้าง และขอบเขตงานไปจนถึงการให้รางวัลพนักงาน และที่สำคัญคือ การวางแผนอัตรากำลังก็ยังเป็นอีกหนึ่งเรื่องหลักขององค์กร
ในอดีตการวางแผนอัตรากำลังคนนิยมเป็นการคำนวณเวลาที่พนักงาน หนึ่งคนใช้ต่อกระบวนการทำงานในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ทำโดยการรวบรวมขั้นตอนการทำงาน และระยะเวลาที่ต้องใช้จากข้อมูลที่มีหรือการสำรวจ เพื่อคำนวณชั่วโมงการทำงานโดยคนหนึ่งคน เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไป การทำงานหันมาเน้น Productivity มากขึ้น การวางแผนอัตรากำลังคนเชิงกลยุทธ์ ควรพิจารณาจากทั้งมุมมองเป้าหมายขององค์กร และมุมมองความต้องการจากหน้างาน เพื่อให้มั่นใจว่า กรอบอัตรากำลังคนสามารถสนับสนุนกลยุทธ์ขององค์กร และใช้งานได้จริง ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรจะต้องมีการทบทวน และวิเคราะห์อัตรากำลังคน เพื่อการวางแผนอัตรากำลังที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
1. เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจกรอบและแนวคิดเกี่ยวกับองค์ประกอบของการวิเคราะห์อัตรากำลังคน
2. เพื่อให้ผู้เรียนมีเทคนิคการวิเคราะห์อัตรากำลัง ในรูปแบบต่าง ๆ และสามารถนำไปใช้จริงได้ภายในองค์กร
3. เพื่อดำเนินการวางแผนกำลังคน ทั้งด้านปริมาณ ด้านคุณภาพ สำหรับรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
4. เพื่อพัฒนาศักยภาพของพนักงานใต้บังคับบัญชา และการจัดการอัตรากำลังคนให้มีความเหมาะสมกับงาน
เนื้อหาหลักสูตร:
1. ภาพรวมของการวางแผน และการวิเคราะห์อัตรากำลัง
- การวิเคราะห์อัตรากำลัง (Workforce Analysis) คืออะไร
- ความจำเป็นของการวิเคราะห์อัตรากำลัง (Workforce Analysis)
- รูปแบบที่หลายหลายของการวิเคราะห์อัตรากำลัง
- การวิเคราะห์อัตรากำลังคนแล้ว หน่วยงานจะทำอะไรต่อไป?
2. เทคนิคการวิเคราะห์อัตรากำลังคน
- ภาระงาน (Workload) คืออะไร?
- ส่วนประกอบของภาระงาน
- ทำไมการวิเคราะห์อัตรากำลังตามภาระงานจึงได้รับความนิยม
- แหล่งข้อมูลสำหรับการรวบรวมภาระงาน
- การวิเคราะห์อัตรากำลังตามภาระงานคืออะไร?
- ขั้นตอนการวิเคราะห์อัตรากำลังตามภาระงาน
3. การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณงาน
- แบบฟอร์มรวบรวมงาน (Task Collection Sheet)
- ข้อมูลที่ต้องรวบรวมเพื่อให้ทราบปริมาณงาน
- วิธีรวบรวมงานให้ครบถ้วน
- งานใดควร/ไม่ควรรวบรวม เพื่อไปวิเคราะห์ภาระงาน
- ระบุหน่วยนับของงานและปริมาณงานอย่างไร
- Workshop: จัดทำข้อมูลงานและปริมาณงาน และข้อมูลหน่วยงานนับและปริมาณงานตามตัวอย่าง
4. การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเวลาปฏิบัติงาน
- แบบฟอร์มแจกแจงขั้นตอน และเวลาการปฏิบัติงานแต่ละขั้นตอน
- ข้อมูลที่ต้องรวบรวม เพื่อให้ทราบเวลาปฏิบัติงาน
- แนวทางการเลือกระบุเวลาปฏิบัติงาน
- แนวทางการเขียนขั้นตอนการทำงาน (Work Process) ให้ถูกต้อง
- ลดแบบฟอร์มให้น้อยลงด้วยกระบวนการรวบรวมข้อมูลเวลาและระบุปริมาณงานด้วย Workload Data Sheet
- Workshop: จัดทำข้อมูลขั้นตอนและเวลาปฏิบัติงานตามตัวอย่าง
5. การเชื่อมโยงข้อมูลจากการวิเคราะห์ภาระงานไปสู่การวิเคราะห์อัตรากำลัง
รูปแบบการเรียนรู้
- Participative Technique 20%
- Workshop 80% การวิเคราะห์ภาระงานไปสู่การวิเคราะห์อัตรากำลัง
คุณสมบัติของผู้อบรม/สัมมนา
พนักงานระดับผู้จัดการ หัวหน้างาน หรือตำแหน่งงานเทียบเท่า ตามที่ทางบริษัทฯ กำหนด
ระยะเวลา
1 วัน/รุ่น เวลา 09.00-16.00 น.
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
- Tel. : 086-318-3152
- E-mail : hipotraining@gmail.com
- Website : www.hipotraining.co.th
- ID Line@ : @761mvknp